September 7, 2024

สงครามแย่งชิงบัลลังก์เกิดขึ้นระหว่างพระโอรสสองพระองค์ของพระเจ้ามพันเด คือ เคตช์วาโย กับ มบูยาซี เหตุการณ์ถึงขีดสุดเมือ่ปี ค.ศ.1852 ด้วยการสู้รบและการตายของมบูยาซ๊ จากนั้นเคตช์วาโย ก็ค่อยๆ ยึดอำนาจการบริหารจากพระราชบิดา เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ด้วยโรคชราเมื่อ ค.ศ.1872 เคตช์วาโย ก็เสด็จขึ้นครองราชย์

สงครามอังกฤษ-ซูลู เมื่อ ค.ศ. 1879มีชนวนเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ หนึ่งในนั้นคือความต้องการแรงงาน “ชาวซูลู” ไปใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองเพชร และความต้องการจัดตั้งสหพันธรัฐแอฟริกาใต้ของจักรวรรดิอังกฤษ

ในปีค.ศ. 1878 กษัตริย์เคตช์วาโย ได้เริ่มระดมพลจาก 40,000 นาย เป็น 60,000 นาย ทำให้ฝ่ายจักรวรรดิอังกฤษไม่พอใจมาก ในเดือนธันวาคม ค.ศ. ข้าหลวงใหญ่ประจำแอฟริกาใต้จึงยื่นคำขาดให้กษัตริย์ยุติการระดมพล และเลิกการจัดการระบบทหารภายใน 30 วัน

การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ฝ่ายจักรวรรดิอังกฤษจึงส่ง ลอร์ดเชล์มสฟอร์ด เป็นผู้นำทหารบุกราชอาณาจักรซูลู ทว่ากษัตริย์เคตช์วาโย ดำเนินการอย่างระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการปะทะ เพราะพระองค์เชื่อว่ายังอาจมีหนทางสำหรับการเจรจาสันติภาพ

ลอร์ดเชล์มสฟอร์ด นำกำลังทหารมาจัดตั้งที่ อิสซานลวานา ซึ่งเป็นเนินเขากว้างและฝ่ายอังกฤษชะล่าใจไม่จัดเครื่องป้องกันค่ายเพราะคิดว่าชาวซูลูไม่กล้าบุก เมื่อ ลอร์ดเชล์มสฟอร์ด นำกำลังทหารของเขาออกจากค่าย เหลือทหารไว้ในค่ายแค่ 1 ใน 3 

ฝ่ายซูลูจึงได้โอกาสโจมตี เมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1879 ในยุทธการที่ อิสซานลวานา กำลังทหารฝ่ายซูลูกว่า 20,000 คน สังหารทหารฝ่ายจักรวรรดิอังกฤษไปกว่า 1,300 คน ซึ่งเป็นกองกำลังชาวอังกฤษ 800 คน และอีก 500 คนเป็นของชาวแอฟริกัน

เมื่อข่าวความพ่ายแพ้นี้ไปถึงรัฐบาลอังกฤษ ได้มีการตอบโต้กลับอย่างรุนแรง โดยส่งกำลังทหารจำนวนมากพร้อมยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย จนเอาชนะ ราชอาณาจักรซูลู  พระเจ้าเคตช์วาโย ถูกจับได้ในเวลา 1 เดือนหลังสงครามและถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองเคปทาวน์ อังกฤษจัดแบ่งแยกราชอาณาจักรซูลูออกเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ 13 แห่ง

กษัตริย์เคตช์วาโย เสด็จสวรรคตในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1884 นับเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งชนชาติซูลูที่ยังมิไม่ได้อิสรภาพ ดินิซูลู พระราชโอรสผู้สืบทอดราชบัลลังก์แทนเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1884

About The Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *