July 27, 2024

จักรวรรดิมองโกลขณะนั้นปกครองดินแดนมากกว่าครึ่งของทวีปเอเชีย และบางส่วนของทวีปยุโรป เป็นชาติมหาอำนาจที่เป็นที่หวั่นเกรงของทุกอาณาจักร เหตุการณ์ที่กองทัพของจักรวรรดิมองโกล เข้ารุกรานญี่ปุ่นสองครั้ง ในปีค.ศ. 1274 และ 1281 การรุกรานทั้งสองครั้งประสบความล้มเหลวอย่างยับเยินอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง 

ในปี ค.ศ. 1266 กุบไลข่านส่งคณะทูตไปยังญี่ปุ่นหลายครั้งแต่ผู้สำเร็จราชการโทกิมูเนะตัดสินใจไม่ให้คำตอบใดๆแก่ทูตมองโกลขณะเดียวกันก็สั่งการขุนนางและกลุ่มซามูไรในเกาะคิวชู ซึ่งอยู่ใกล้กับโครยอมากที่สุดให้เตรียมรับมือจากภัยสงครามที่อาจมาถึง 

กุบไลข่านทรงปรารถนาอย่างมากที่จะทำสงครามต่อญี่ปุ่นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1268 หลังจากได้ได้รับการปฏิเสธมาแล้วถึงสองครั้ง แต่ก็พบว่ามองโกลยังขาดแคลนทรัพยากรและงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดตั้งกองเรือรบในเวลานั้น จนกระทั่งภายหลังจากมองโกลดำเนินนโยบายกลืนชาติเกาหลีโดยการที่ราชธิดาของกุบไลข่านได้อภิเษกสมรสกับรัชทายาทแห่งโครยอ การต่อเรือและจัดตั้งกองเรือรบจึงเริ่มขึ้นในชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลี ในขณะเดียวกันมองโกลก็เรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมจำนนอยู่ตลอด

ในที่สุด เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1274 กองเรือผสมของกองทัพจักรวรรดิมองโกล ด้วยดำลังทหารมองโกลและจีน 15,000 นายและทหารโครยอ 8,000 นาย พร้อมทั้งเรือรบขนาดใหญ่ 300 ลำและเรือรบขนาดรอง 400-500 ลำ และเข้าประชิดอ่าวฮากาตะบนเกาะคิวชู ทันทีที่ทัพมองโกลยกพลขึ้นบก ก็ถูกโจมตีจากทหารญี่ปุ่นและซามูไรราว 10,000 นายที่ตั้งทัพรออยู่ 

ญี่ปุ่นแม้จะมีประสบการณ์ในการจัดการกำกำลังพลขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากมองโกลมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า มองโกลจึงพิชิตกองทัพญี่ปุ่นง่ายดายในการต่อสู้ภาคพื้นดินที่อ่าวฮากาตะ อีกทั้งมองโกลยังไม่สามารถรุกคืบต่อไปได้ ต้องรอกำลังเสริมอีกบางส่วนและเมื่อกำลังเสริมมาถึงและกองทัพมองโกลเตรียมยกพลขึ้นฝั่ง ในตอนรุ่งสาง พายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงอย่างมหาศาลก็ได้มาถึง ณ ที่นั้น และได้พัดทำลายกองเรือมองโกลเสียหายไปอันมาก

ทหารมองโกลต่างกระโดดหนีเอาชีวิตรอด ทหารจำนวนหลายพันจมน้ำเสียชีวิต ที่รอดชีวิตก็ว่ายน้ำหนีตายขึ้นฝั่งฮากาตะ แต่ก็ถูกกองทัพซามูไรสังหารเสียชีวิตและบางส่วนถูกจับเป็นเชลย ภายหลังจากการรุกรานชาวญี่ปุ่นได้เทิดทูนว่าพายุลูกนั้นว่าเป็นพายุที่เทพเจ้าบันดาลมาปกป้องญี่ปุ่น และตั้งชื่อให้ว่า “กามิกาเซ่”

หลังจากที่การรุกรานครั้งแรกประสบความล้มเหลว กุบไลข่านก็ได้ส่งราชทูต 5 คนไปยังเกาะคิวชูเพื่อให้ยอมจำนน ผู้สำเร็จราชการโทกิมูเนะตอบโต้ด้วยการสังหารเหล่าทูตของมองโกล กุบไลข่านมองว่าอาจเป็นด้วยการสื่อสารที่ผิดพลาด ที่ราชทูตถูกสังหารง จึงได้จัดให้มีการส่งคณะทูตชุดใหม่ไปเจรจาอีกครั้ง แต่โทกิมูเนะก็สั่งให้ประหารทูตเหมือนเดิม

มิถุนายน ค.ศ. 1281 กองเรือมองโกลแบ่งออกเป็นสองกองเรือ กองเรือแรกประกอบด้วยเรือรบของมองโกล จีน และเกาหลีส่วนกองเรือที่สองนั้นมาจากจีนตอนใต้ กองเรือจากเกาหลีชิงลงมือก่อนและก็ประสบกับความสูญเสียอย่างหนักที่เกาะสึชิมะจนต้องสั่งถอยทัพ ต่อมาในฤดูร้อน กองเรือเกาหลีและจีนก็สามารถยึดเกาะอิกิได้สำเร็จ และเข้าโจมตีเกาะคิวชู แต่จากการรับมือที่ดีของญี่ปุ่น กองกำลังของมองโกลถูกผลักดันกลับไปที่เรือ 

กองทัพของญี่ปุ่นมีจำนวนมากกว่าสามารถที่จะป้องกันกองหนุนของมองโกลได้อย่างง่ายดาย จนกระทั่งวันที่ 15 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นคามิกาเซะก็ได้พัดเข้าสู่ชายฝั่งของคิวชูเป็นเวลาสองวัน ทำลายกองเรือของมองโกลพินาศไปเกือบทั้งหมด ทหารมองโกลและพันธมิตรเสียชีวิตกลางทะเลมากกว่าแสนนาย สงครามครั้งนี้ทำให้มองโกลยอมรับญี่ปุ่นว่ามีความกล้าแลรุนแรง และการรุกรานญี่ปุ่นนั้ไร้ประโยชน์

About The Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *