May 20, 2024

พระเจ้าบุเรงนองนับว่าเป็นกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์ตองอู ที่นับว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ 1 ใน 3 พระองค์ของพม่า ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1550 ภายหลังการถูกลอบปลงพระชนม์ ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้โดยทหารรับใช้ชาวมอญ พระเจ้าบุเรงนองทรงกระทำสงครามแผ่ขยายอาณาจักร เริ่มต้นจากปราบปรามกบฏและเมืองต่าง ๆ ที่เคยอยู่ภายในอาณาจักรเดิมให้เรียบร้อย

ลำดับต่อมา ทรงเข้าตีเมืองอังวะได้ในปี ค.ศ.1550 หลังจากนั้นก็ยกทัพเข้าตีไทยใหญ่ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1557 สำหรับไทยใหญ่พระเจ้าบุเรงนองทรงจัดการปกครอง โดยให้ลดอำนาจของเจ้าฟ้าผู้ปกครองเมืองลง และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไทยใหญ่ก็เป็นเมืองขึ้นของพม่า จนถึงกระทั่งพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในปีค.ศ. 1558 เชียงใหม่เมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพระองค์ในช่วงสงครามช้างเผือกปี ค.ศ. 1563 พระเจ้า
บุเรงนอง ได้นำกำลังพลจำนวนมาก ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา โดยให้เมืองเชียงใหม่สนับสนุนเสบียงอาหารลำเลียงมาทางเรือจนถึงตากและเข้าตีหัวเมืองเหนือของไทยมาตามลำดับ

เพื่อตัดกำลังที่จะยกมาช่วยกรุงศรีอยุธยาเมื่อพระเจ้าบุเรงนอง ตีเมืองกำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย และพิษณุโลกได้แล้ว จึงบังคับให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงพระมหาธรรมราชาที่ทรงครองเมืองพิษณุโลกด้วยถือน้ำกระทำสัตย์ให้อยู่ใต้บังคับของพม่า พร้อมทั้งสั่งยกทัพตามลงมาเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาด้วย พม่าได้ระดมยิงปืนใหญ่เข้าในพระนครทุกวัน ชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัด เสียหายมากจนราษฎรได้รับความเดือดร้อนและเสียขวัญ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องเสด็จไปเจรจากับพระเจ้าบุเรงนอง ยอมเป็นไมตรีด้วย โดยได้มอบช้างเผือก 4 เชือกพร้อมกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามให้แก่พม่า เพื่อเป็นตัวประกัน

ในปี ค.ศ.1568 พระเจ้าบุเรงนองได้ยกกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพ เดินทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน โดยมุ่งตีหักเข้ามาทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นด้านที่อ่อนแอที่สุดและใช้กำลังทางเรือปิดกั้นลำน้ำทางตอนใต้ เพื่อไม่ให้ฝ่ายไทยติดต่อกับหัวเมืองทางใต้และต่างประเทศ ขณะเดียวกันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวรและเสด็จสวรรคต ทำให้ราษฎรเสียขวัญและกำลังใจ หลังจากพม่าล้อมกรุงอยู่เก้าเดือนก็เสียกรุงแก่พระเจ้าบุเรงนอง

About The Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *