September 7, 2024

สงครามกลางเมือง

“มารี อองตัวเนต” ราชินีผู้ถูกประหารด้วยกิโยติน

ทำไมมารีอองตัวเนตถึงมีชื่อเสียง? มารีอองตัวเนตเป็นราชินีของฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1774 ถึง 1793 และเธอมีชื่อเสียงเกี่ยวกับการเสื่อมถอยของราชวงศ์ฝรั่งเศส โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า “ให้พวกเขากินเค้ก” ที่ถูกกล่าวหาว่าเธอพูด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเธอไม่สนใจถึงสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบากของประชาชน แต่จริงๆ แล้วเธอน่าจะไม่ได้พูดคำนี้เลย มารีอองตัวเนตได้ขึ้นสู่อำนาจได้อย่างไร? มารีอองตัวเนตเป็นลูกสาวคนสุดท้องของจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ฟรานซิสที่ 1 และมาเรีย เทเรซา เธออายุเพียง 14...

ล่มสลาย สุโขทัย

เมื่อพญาเลอไทพระราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหง ขึ้นครองราชย์เมืองสุโขทัยแล้วได้ตั้งให้พระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งเป็นราชโอรส ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย แต่ปรากฏต่อมาว่าพญางั่วนำถุม ได้เข้ามาเป็นกษัตริย์แทนพญาเลอไท คงจะเป็นเพราะความอ่อนแอของพญาเลอไท กระทั่งสุดท้าย ค.ศ.1347 พระมหาธรรมราชาลิไท ก็ได้ยกทัพมาจากศรีสัชนาลัยเข้ายึดเมืองสุโขทัยได้สำาเร็จ เมื่อพระมหาธรรมราชาลิไท สามารถปรามปรามศัตรูทางการเมือง ซึ่งอาจจะเป็นญาติวงศ์พระร่วงกันเองแต่ต่างสาย  โดยยกทัพมาจาก เมืองศรีสัชนาลัยเข้ายึดเมืองสุโขทัยได้แล้วในเวลาต่อมาพระเจ้าอู่ทองแห่งกรุง ศรีอยุธยาที่กำาลังเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นได้ให้พี่หรือน้องของพระมเหสีของพระองค์ คือขุนหลวงพะงั่ว ขึ้นไปยึดเมืองเหนือ โดย...

ซูสีไทเฮา วางยาจักรพรรดิกวางซวี่

มารดาจักรพรรดิกวางซวี่ เป็นน้องสาวแท้ๆ ของพระนางซูสีไทเฮา พระนางให้กวางซวี่ครองราชย์ตั้งแต่ยังไม่เต็ม 4 ขวบ เพราะสามารถชักจูงได้ง่าย เลี้ยงดูแบบใช้อำนาจ สร้างภาพให้น่าเกรงขาม เพื่อให้เชื่อฟังคำสั่ง หลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกว่า จักรพรรดิกวงซวี่ “กลัวไทเฮามากจนจนพูดติดอ่าง เมื่อไทเฮาถามก็ยืนตัวสั่น พูดจาอ้ำอึ้ง” ซ้ำร้ายพวกขันทีที่คอยดูแลกวงซวี่ก็ไม่เคารพพระองค์ และมักเก็บเรื่องเล็กน้อยของกวงซวี่ไปทูลฟ้องซูสีไทเฮา นั่นทำให้พอโตขึ้นจึงขลาดความมั่นใจ และขี้ขลาด https://www.youtube.com/watch?v=tnRsUt9KbsI...

การเสียกรุง ครั้งแรกของโรม

กรุงโรมแตก ในปี ค.ศ. 410 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 410 โดยกรุงโรมถูกโจมตีโดยชาววิสิกอธที่นำโดยอาลาริคที่ 1 เป็นผู้นำทัพ ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับที่รบชนะที่วาเลนส์ ในปี ค.ศ.378 หลังจากที่จักรพรรดิโฮโนริอัสย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันไปยังราเวนนาในปี ค.ศ. 402 เมื่อวิสิกอธเริ่มเข้ามารุกรานอิตาลี แม้ว่าตอนนั้นโรมันตะวันตกจะย้ายเมืองหลวงไปที่ราเวนนา...

ปฏิวัติเมจิ ล้มระบอบโชกุน

การปฏิวัติเมจิ หรือที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูเมจิ” (Meiji Restoration) มีหมุดหมายสำคัญอยู่ที่กลุ่มไดเมียวชายขอบ หรือผู้ครองแคว้นนอกวงอำนาจการเมืองร่วมกับซามูไรชั้นล่าง พ่อค้าและราชสำนักเชิดชูจักรพรรดิยึดอำนาจการปกครองจาก รัฐบาลโชกุนตระกูลโตกุกาวะสำเร็จในปี 1868 https://www.youtube.com/watch?v=gz_cKpDFv0w&pp=ygUrY2hlcnJ5bWFuIOC4m-C4j-C4tOC4p-C4seC4leC4tOC5gOC4oeC4iOC4tA%3D%3D เหตุการณ์นี้ส่งผล ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในญี่ปุน มีการเปลี่ยนรูปรัฐจาก ่ รัฐศักดินาที่มีฐานเศรษฐกิจและการเมืองแบบคุมกำลังคนและที่ดิน ไปสู่รัฐชาติทุนนิยมที่ให้กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเอกชนและเสรีภาพ ในการประกอบกิจการ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมและ การเมืองญี่ปุ่นอย่างถอนรากถอนโคนทำให้การปฏิวัติเมจิเป็น...

โจรโพกผ้าเหลือง กบฏชาวนา

ปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ขันทีก่อความวุ่นวายและพระญาติทางสายมารดาและมเหสีต่างรวบอำนาจไว้ในมือ ขณะที่ประเทศต้องประสบภัยธรรมชาติต่อเนื่อง ตั้งแต่อุทกภัย ภัยแล้ง ภัยจากแมลง ที่เกิดขึ้นติดต่อกันหลายปี ทำให้ชาวนาต้องเผชิญความยากจนข้นแค้น และการกดขี่ของขุนนางทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงทั้งหลาย https://www.youtube.com/watch?v=VLglTbZ9OCQ&pp=ygU34LmC4LiI4Lij4LmC4Lie4LiB4Lic4LmJ4Liy4LmA4Lir4Lil4Li34Lit4LiHIGNoZXJyeW1hbg%3D%3D ความอดอยากของชาวนา บวกกับปราศจากที่ทํากิน ต้องอพยพหนีความอดอยากออกร่อนเร่ ในที่สุดการลุกฮือของชาวนาก็มาถึงขั้นสูงสุด เกิดการรวมตัวผู้คนหลายแสนในรัชสมัยพระเจ้าเลนเต้ ค.ศ. 184 ที่เรียกกันว่า “โจรโพกผ้าเหลือง”  โจรโพกผ้าเหลือง...

พระเจ้าตาก กลศึกทุบหม้อข้าว

พระเจ้าตากนำกองกำลังชาวสยามและชาวจีน ฝ่าวงล้อมพม่าจากกรุงศรีอยุธยาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2310 ประมาณสามเดือนก่อนเสียกรุงฯ ไปตั้งหลักที่หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ในขณะเดียวกันนั้นเกิดสงครามจีน-พม่า อันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพม่าและจีนราชวงศ์ชิงเกี่ยวกับอิทธิพลในหัวเมืองไทใหญ่  ส่งทัพจีนเข้าโจมตีพม่าโดยตรงในปลายปี พ.ศ. 2309 เป็นเหตุให้พระเจ้ามังระมีราชโองการมายังแม่ทัพที่อยุธยาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2310เร่งรัดให้มังมหานรธาและเนเมียวสีหบดีหักตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้โดยเร็ว https://www.youtube.com/watch?v=pUe45ynwpJ0&pp=ygVP4Lie4Lij4Liw4LmA4LiI4LmJ4Liy4LiV4Liy4LiBIOC4geC4peC4qOC4tuC4geC4l-C4uOC4muC4q-C4oeC5ieC4reC4guC5ieC4suC4pw%3D%3D เพื่อผันกำลังไปสู้รบกับจีน มังมหานรธาจึงให้สร้างป้อมล้อมกรุงจำนวน 27 ป้อมในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม พ.ศ....

เจี่ยนานเฟิง จักรพรรดินีโหดสุดแสบ

พระนางเจี่ยนานเฟิง เป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์จีนในฐานะหญิงผู้ทรงอำนาจและมีความโหดเหี้ยม พระนางเป็นพระมเหสีของจักรพรรดิจิ้นฮุ่ยเป็นจักรพรรดิที่พิการทางพัฒนาการ แห่งราชวงศ์จิ้น ซึ่งปกครองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 พระนางเจี่ยนานเฟิงไม่ได้เป็นเพียงพระมเหสีที่มีอำนาจในการปกครอง แต่ยังเป็นที่รู้จักในเรื่องการใช้อำนาจอย่างโหดเหี้ยมและไม่มีความปรานีต่อผู้ที่ต่อต้านพระนาง พระนางมีวิธีการที่โหดเหี้ยมในการควบคุมและกำจัดศัตรูทางการเมือง การลอบสังหารและการวางแผนที่ซับซ้อนเป็นเครื่องมือที่พระนางใช้ในการรักษาอำนาจ เมื่อองค์ชายยู พระอนุชาของจักรพรรดิจิ้นฮุ่ย และเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ พระนางเจี่ยนานเฟิง เห็นว่าองค์ชายยูเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจของเธอ จึงวางแผนลอบสังหารองค์ชายยูอย่างโหดเหี้ยมเพื่อกำจัดคู่แข่ง พระนางเจี่ยนานเฟิงใช้จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยที่อ่อนแอเป็นเครื่องมือในการปกครอง โดยการควบคุมทุกการตัดสินใจและการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครสามารถท้าทายอำนาจของเธอได้ พระนางไม่ลังเลที่จะสั่งประหารชีวิตข้าราชบริพารหรือแม้แต่สมาชิกในราชวงศ์ที่เธอเห็นว่าเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจของเธอ...

ยุทธการที่วอเตอร์ลู จุดจบจักรพรรดินโปเลียน

ในปี ค.ศ.1815 นโปเลียนได้หนีออกจากเกาะเอลบากลับสู่ฝรั่งเศส ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ที่ครองราชย์อยู่ขณะนั้น หนีออกนอกฝรั่งเศส และนโปเลียนได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายก็ได้กลับมาเป็นจักรพรรดิของฝรั่งเศสอีกครั้ง การกลับมาเป็นจักรพรรดิของนโปเลียนเป็นที่น่ากังวลของฝ่ายพันธมิตรมาก ฝ่ายพันธมิตรจึงมีการร่วมมือกันทางทหารเพื่อต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสอีกครั้ง ฝ่ายอังกฤษนำโดย ดยุกแห่งเวลลิงตัน และปรัสเซียนำโดยฟอน บลึชเชอร์ กองทัพฝรั่งเศสได้เคลื่อนทัพเข้าสู่เบลเยียม วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815...

ฟอลคอน ขุนนางคนสนิทพระนารายณ์

ออกญาวิไชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน เป็นขุนนางต่างชาติสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อนที่เขาจะเดินทางมาอยุธยา เขาเคยทำงานกับบริษัทอีสต์อินเดียของอังกฤษ กระทั่งค.ศ.1675 จึงเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา และมีโอกาสทำงานกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี โดยทำหน้าที่ช่วยติดต่อด้านการค้าขาย  ต่อมาใน ค.ศ. 1681 ฟอลคอนจึงได้รับการสนับสนุนจากเจ้าพระยาโกษาธิบดีให้รับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ จากจุดนั้นเองที่ทำให้เขาไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจอย่างรวดเร็ว การก้าวขึ้นสู่อำนาจของฟอลคอนนั้น แม้จะเป็นไปตามพระราโชบายทางการเมืองของสมเด็จพระนารายณ์ แต่ก็สร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นแก่คนจำนวนมาก ด้วยสมเด็จพระเพทราชา...