July 27, 2024

พม่า

พระเจ้าตาก พิชิตศึกโพธิ์สามต้น

พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าได้ส่งแม่ทัพ คือ เนเมียวสีหบดี และ มังมหานรธาเข้าตีกรุงศรีอยุธยาทุก ๆ ด้าน ตีจนกรุงศรีอยุธยาแตก พม่าได้รวบริบทรัพย์จับผู้คน จับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรได้และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยภิกษุสามเณรไปเมืองพม่า มีกองทัพพม่า รวม 3,000 คน ตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ทำหน้าที่ดูแลกรุงศรีอยุธยาคอยรวบรวมผู้คนและทรัพย์สิ่งของส่งไปพม่า https://www.youtube.com/watch?v=LosrhkzDbdM&t=14s&pp=ygUhY2hlcnJ5bWFu4LmC4Lie4Liq4Liy4Lih4LiV4LmJ4LiZ เมื่อพระเจ้าตากเตรียมกองทัพอยู่ที่เมืองจันทบุรีนั้น มีข้าราชการเก่าในกรุงศรีอยุทธยาที่หลบหนีพ้นพม่าได้ ทราบว่าเจ้าตากรวบรวมรี้พลจะมาแก้แค้นพม่าก็ลงไปเข้าด้วยหลายคน...

อาณาจักรศรีเกษตร อาณาจักรโบราณของพม่า

กล่าวกันว่า ชาวมอญได้ อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว3,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวศตวรรษ ที่ 3 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัย ของพระเจ้าอโศกมหาราช กระนั้นนักประวัติศาสตร์ก็ยังไม่ยอมรับว่าชาวมอญได้ตั้งอาณาจักรของตัวเองขึ้มาอย่างเป็นรูปธรรม  นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า กลุ่มชนที่เข้าตั้งอาณาจักรพวกแรกๆก็คือพวกปยู กล่าวคือ ชาวปยูเข้ามาอาศัยในดินแดนพม่าราวศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง นครรัฐของชาวปยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐ ขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรนาการ...

อะแซหวุ่นกี้ ขอดูตัว พระยาจักรี

ในเวลานั้นเมื่ออะแซหวุ่นกี้ตั้งล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่ก่อน กองทัพกรุงธนบุรีขึ้นไปถึงนั้น จำนวนพลฝ่ายสยามตั้งรักษาเมืองพิษณุโลกจะมากน้อยเท่าใดไม่ปรากฎในหนังสือพระราชพงษาวดาร ความปรากฎว่าเวลาเมื่อพม่าตั้งค่ายล้อมเมืองนั้น อะแซหวุ่นกี้ยกพลเลียบค่ายไปเที่ยวตรวจชัยภูมิทุก ๆ วัน เจ้าพระยาสุรสีห์คุมพลออกโจมตี สู้พม่าไม่ได้ต้องถอยมา เจ้าพระยาจักรีคุมพลออกรบเอง ตีพม่าต้องถอยหนีเข้าค่ายไปหลายครั้ง อะแซหวุ่นกี้ยกย่องฝีมือเจ้าพระยาจักรี ถึงให้มาบอกว่าจะขอพบปะให้รู้จักกัน ครั้นเวลาวันหนึ่งจึงนัดหยุดรบ อะแซหวุ่นกี้กับเจ้าพระยาจักรีออกไปพบกันที่ในสนามยืนม้าเจรจากัน ความที่เจรจากล่าวไว้ในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า อะแซหวุ่นกี้ให้ล่ามถามเจ้าพระยาจักรีว่าอายุเท่าใด เจ้าพระยาจักรีให้บอกไปว่าอายุได้ 30 เศษ...

กินหวุ่นมินจี ราชฑูตผู้ล้มเหลว

กินหวุ่นมินจี ราชทูตพม่าที่เดินทางไปยุโรป และเป็นพระสหายของพระเจ้ามินดุง ดำรงตำแหน่งเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในราชสำนัก เป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ และเป็นผู้สนับสนุนกษัตริย์ถึง 2 พระองค์ ให้มีอำนาจปกครองประเทศ  พระเจ้ามินดงในระหว่างที่ทรงครองราชย์อยู่นั้นทรงตระหนักถึงความจำเป็นในการเปิดประเทศ และเจริญสัมพันธไมตรีกับทางยุโรป จึงทรงจัดส่งคณะราชทูตออกไปฝรั่งเศส อังกฤษ และอิตาลี ถึง 2 คณะด้วยกันคือ ในปีค.ศ. 1856 และ...

พระเจ้าจักกายแมง ผู้ประกาศสงครามกับอังกฤษ

พระเจ้าจักกายแมง เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์โก้นบอง มีนโยบายขยายอำนาจเข้าไปในแคว้นอัสสัมและมณีปุระ ทำให้มีปัญหากับอังกฤษ และนำไปสู่การเกิดสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง เมื่อพระเจ้าปดุงเสด็จสวรรคตเมื่อ ค.ศ.1819 พระเจ้าจักกายแมงจึงขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อ พระองค์มีอัธยาศัยอ่อนโยนและมีความอ่อนแอด้วย ทำให้พระมเหสีคือพระนางแมนุ สามารถกุมอำนาจอยู่เบื้องหลังราชบัลลังก์ https://www.youtube.com/watch?v=1L9qrSdAbh0&pp=ygUb4LiI4Lix4LiB4LiB4Liy4Lii4LmB4Lih4LiH พระองค์มีนโยบายแผ่อำนาจเข้าไปในแคว้นอัสสัมและมณีปุระ โดยยกทัพเข้าไปในมณีปุระเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.1819 เพราะไม่มาเข้าเฝ้าพระองค์ในงานพระบรมราชาภิเษก เจ้าผู้ครองแคว้นมณีปุระจึงหนีเข้าไปในแคว้นกระแซและขับไล่เจ้าผู้ครองแคว้นออกไป เจ้าผู้ครองแคว้นกระแซจึงหนีเข้าไปในแคว้นชยันตียา...

บุเรงนอง

พระเจ้าบุเรงนองนับว่าเป็นกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์ตองอู ที่นับว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ 1 ใน 3 พระองค์ของพม่า ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1550 ภายหลังการถูกลอบปลงพระชนม์ ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้โดยทหารรับใช้ชาวมอญ พระเจ้าบุเรงนองทรงกระทำสงครามแผ่ขยายอาณาจักร เริ่มต้นจากปราบปรามกบฏและเมืองต่าง ๆ ที่เคยอยู่ภายในอาณาจักรเดิมให้เรียบร้อย https://www.youtube.com/watch?v=g2UW5_oO41U&pp=ygUiY2hlcnJ5bWFuIOC4muC4uOC5gOC4o-C4h-C4meC4reC4hw%3D%3D ลำดับต่อมา ทรงเข้าตีเมืองอังวะได้ในปี ค.ศ.1550 หลังจากนั้นก็ยกทัพเข้าตีไทยใหญ่ได้สำเร็จในปี...