September 8, 2024

CHERRYMAN

เจ้าคุณเสือ เจ้าจอมในรัชกาลที่ 1

เจ้าจอมแว่น เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่1 มีนามเดิมว่า เจ้านางคำแว่นหญิงสาวเชื้อสายกษัตริย์เวียงจันทน์ เจ้าจอมแว่นเดิมเป็นพระนางกำนัล ในพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทร์ ครั้งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่ 1)เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์จนแตกพ่ายจึงได้รับนางคำแว่นมาเป็นเมียตามธรรมเนียม  ต่อมาได้เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและเป็นที่โปรดตลอดรัชกาล เจ้าจอมแว่นเป็นผู้มีอุปนิสัยที่กล้าหาญ ไม่ค่อยจะเกรงกลัวผู้ใด กล้าพูดกล้าคิดเกินหญิงสาวสมัยนั้น บรรดาพระเจ้าลูกเธอเกรงกลัวมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และเรียกเจ้าจอมแว่นว่า “คุณเสือ” คนทั้งหลายจึงพากันเรียกตามไปด้วย หลังสิ้นรัชกาลที่ 1 ในปี พ.ศ.2352...

พระเจ้าตาก พิชิตศึกโพธิ์สามต้น

พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าได้ส่งแม่ทัพ คือ เนเมียวสีหบดี และ มังมหานรธาเข้าตีกรุงศรีอยุธยาทุก ๆ ด้าน ตีจนกรุงศรีอยุธยาแตก พม่าได้รวบริบทรัพย์จับผู้คน จับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรได้และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยภิกษุสามเณรไปเมืองพม่า มีกองทัพพม่า รวม 3,000 คน ตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ทำหน้าที่ดูแลกรุงศรีอยุธยาคอยรวบรวมผู้คนและทรัพย์สิ่งของส่งไปพม่า https://www.youtube.com/watch?v=LosrhkzDbdM&t=14s&pp=ygUhY2hlcnJ5bWFu4LmC4Lie4Liq4Liy4Lih4LiV4LmJ4LiZ เมื่อพระเจ้าตากเตรียมกองทัพอยู่ที่เมืองจันทบุรีนั้น มีข้าราชการเก่าในกรุงศรีอยุทธยาที่หลบหนีพ้นพม่าได้ ทราบว่าเจ้าตากรวบรวมรี้พลจะมาแก้แค้นพม่าก็ลงไปเข้าด้วยหลายคน...

อาณาจักรศรีเกษตร อาณาจักรโบราณของพม่า

กล่าวกันว่า ชาวมอญได้ อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว3,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวศตวรรษ ที่ 3 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัย ของพระเจ้าอโศกมหาราช กระนั้นนักประวัติศาสตร์ก็ยังไม่ยอมรับว่าชาวมอญได้ตั้งอาณาจักรของตัวเองขึ้มาอย่างเป็นรูปธรรม  นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า กลุ่มชนที่เข้าตั้งอาณาจักรพวกแรกๆก็คือพวกปยู กล่าวคือ ชาวปยูเข้ามาอาศัยในดินแดนพม่าราวศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลและได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง นครรัฐของชาวปยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐ ขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรนาการ...

พระเจ้าภววรมันที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ

อาณาจักรเจนละถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ยุคต้นของอาณาจักรของชาวขอม เดิมนั้นเป็นเมืองที่ขึ้นกับอาณาจักรฟูนัน อำนาจของเจนละในระยะแรกคงจะอยู่ใต้ฟูนันอีกทั้งปรากฏ สองพี่น้องในฐานะผู้ปกครองเจนละลุกขึ้นมาก่อกบฏต่อฟูนันจนสามารถประกาศตัวเป็นเอกราชได้ ผู้ก่อกบฏสองท่านที่ว่านี้คือ พระเจ้าภววรมัน กับพระอนุชาคือพระเจ้าจิตรเสน เชื่อกันว่าพระเจ้าภววรมัน เป็นเจ้าชายในประเทศราชของฟูนันซึ่งมาจากราชวงศ์ดวงจันทร์ในเวลาต่อมาที่ได้ครอบครองเจนละก็เนื่องจากได้สมรสกับเจ้าหญิงแห่งเจนละซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์อาทิตย์ ในราว ค.ศ.550 พระเจ้าภววรมัน ปฐมกษัตริย์เจนละได้ทำการโค่นอำนาจของพระเจ้ารุทรวรมันกษัตริย์ฟูนัน เพราะเห็นว่าพระเจ้ารุทรวรมันขาดความชอบธรรมในการขึ้นครองราชสมบัติโดยหลังจากที่ พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 3 สวรรคต พระเจ้ารุทรวรมัน ก็ทำการสังหารรัชทายาทที่ชอบธรรมที่ประสูติจากพระอัครมเหสี แล้วตั้งตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฟูนัน...

ยุทธการที่วอเตอร์ลู จุดจบจักรพรรดินโปเลียน

ในปี ค.ศ.1815 นโปเลียนได้หนีออกจากเกาะเอลบากลับสู่ฝรั่งเศส ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ที่ครองราชย์อยู่ขณะนั้น หนีออกนอกฝรั่งเศส และนโปเลียนได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายก็ได้กลับมาเป็นจักรพรรดิของฝรั่งเศสอีกครั้ง การกลับมาเป็นจักรพรรดิของนโปเลียนเป็นที่น่ากังวลของฝ่ายพันธมิตรมาก ฝ่ายพันธมิตรจึงมีการร่วมมือกันทางทหารเพื่อต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสอีกครั้ง ฝ่ายอังกฤษนำโดย ดยุกแห่งเวลลิงตัน และปรัสเซียนำโดยฟอน บลึชเชอร์ กองทัพฝรั่งเศสได้เคลื่อนทัพเข้าสู่เบลเยียม วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815...

ซามูไร วิถีชูโดแบบชายรักชาย

บันทึกของชายรักชายในญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิถีชูโดหรือ‘วิถีดอกไม้แห่งจิตวิญญาณของซามูไร’ เป็นการแสดงความรักที่เชื่อว่าเป็นความรักอันบริสุทธิ์ ที่จะทำให้ชายหนุ่มและซามูไรรุ่นน้องได้เติบโตเป็นชายและซามูไรได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งกายใจและจิตวิญญาณ  วิถีของชูโด คือการที่ซามูไรผู้มากประสบกาณ์  ตกลงใจที่จะรักและเอ็นดูซามูไรวัยรุ่นเพิ่งเริ่มเติบโต และเมื่อได้เลือกแล้ว สายสัมพันธ์นั้นจะไม่มีวันสะบั้นลงเด็ดขาด เหตุผลที่มีสายสัมพันธ์แบบนี้ เกิดจากความเชื่อที่ว่า หากยิ่งผูกพันธ์กันลึกซึ้งมากเพียงใดก็จะยิ่งก่อให้เกิดพลังที่ฮึกเหิมและใจสู้ที่จะปกป้องกันและกัน และเยียวยาดูแลกันและกันในยามที่ต้องลำบากหรือโศกเศร้า วิถีชูโดถูกใช้เป็นขวัญกำลังใจและพลังในการสู้รบตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1200 – 1867 มาจนถึงยุคสมัยเอโดะ...

ฟอลคอน ขุนนางคนสนิทพระนารายณ์

ออกญาวิไชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน เป็นขุนนางต่างชาติสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อนที่เขาจะเดินทางมาอยุธยา เขาเคยทำงานกับบริษัทอีสต์อินเดียของอังกฤษ กระทั่งค.ศ.1675 จึงเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา และมีโอกาสทำงานกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี โดยทำหน้าที่ช่วยติดต่อด้านการค้าขาย  ต่อมาใน ค.ศ. 1681 ฟอลคอนจึงได้รับการสนับสนุนจากเจ้าพระยาโกษาธิบดีให้รับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ จากจุดนั้นเองที่ทำให้เขาไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจอย่างรวดเร็ว การก้าวขึ้นสู่อำนาจของฟอลคอนนั้น แม้จะเป็นไปตามพระราโชบายทางการเมืองของสมเด็จพระนารายณ์ แต่ก็สร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นแก่คนจำนวนมาก ด้วยสมเด็จพระเพทราชา...

โบดิกา ราชินีสยบโรมัน

บูดิก้า ทรงเป็นราชินีแห่งชนเผ่าไอซินี ในปี ค.ศ. 43 ชาวโรมันได้เข้าในมาอังกฤษ ตรงกับยุคของจักรพรรดิคลอดิอุส ชาวอังกฤษจำนวนมากยินดีต้อนรับพวกเขาโดยไม่คิดว่าในระยะยาวนั้นจะเป็นอย่างไร ต่อมาในปี ค.ศ.60 กษัตริย์แห่งเผ่าไอซินี นามว่า พราซูทากุส สิ้นพระชนม์ลง อาณาจักรของพระองค์อยู่ในสภาพต้องแบ่งกันระหว่างจักรวรรดิโรมันกับพระธิดาสององค์โดยมีมเหสีหม้ายคือโบดิกาเป็นผู้สำเร็จราชการ แต่ด้วยพระองค์สิ้นพระชนม์โดยไม่มีผู้สืบทอดที่เป็นชาย โรมันจึงเห็นว่าสัญญาสันติภาพกับกรุงโรมที่พระองค์เคยทำไว้เป็นโมฆะ https://www.youtube.com/watch?v=FQAhK9o4nhg&pp=ygUcY2hlcnJ5bWFuIOC5guC4muC4lOC4tOC4geC4sg%3D%3D การสืบทอดอำนาจภายใต้กฏหมายของโรมันจำเป็นต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น ดังนั้นการมีผู้หญิงปกครองจึงถือว่าชาวไอซีนีเป็นพวกป่าเถื่อน...

สุมาอี้ ยอดคนแห่งการรอคอย

สุมาอี้ เป็นขุนนางคนสำคัญของวุยก๊ก ภายนอกดูโอบอ้อม แต่ก็มีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว เป็นนักการทหารในเรื่องราวของสามก๊ก เขามีมีบทบาทเป็นคู่ปรับคนสำคัญของจูกัดเหลียง(ขงเบ้ง) กุนซือของจ๊กก๊ก ในการรบครั้งสุดท้ายระหว่างขงเบ้งกับสุมาอี้ ขงเบ้งต้องการเสร็จศึกโดยเร็วเพราะเสบียงมีน้อย ในขณะที่สุมาอี้นั้นมีเสบียงมากมาย ดังนั้นจึงไม่ยอมออกมารบ ขงเบ้งได้ส่งคนท้าทายสุมาอี้หลายต่อหลายครั้ง ถึงขนาดส่งเสื้อผ้าสตรีเยาะเย้ยแต่สุมาอี้ก็ไม่ยอมออกมารบ แต่หลังจากขงเบ้งได้รู้ว่าตนกำลังจะสิ้นบุญจึงทำพีธีต่อชะตาเป็นเวลา 7 วัน แต่พิธีต่อชะตาล้มเหลว https://www.youtube.com/watch?v=QjW9xomNpRU จนกระทั่งสุมาอี้ก็ได้รับรู้ข่าวว่าขงเบ้งล้มป่วยตายแล้วและกองทัพจ๊กก๊กได้ถอยทัพกลับเสฉวนจึงรีบนำกองทัพบุกไล่ตีตลบหลังกองทัพจ๊กก๊ก แต่สุมาอี้ได้เจอกับขงเบ้งที่นั่งบนรถนำกองทัพจ๊กก๊กมาตั้งรับจึงตกใจและคิดว่าได้ถูกเล่ห์กลของขงเบ้งหลอกให้ออกจากค่ายจึงรีบถอยทัพกลับค่ายทันที...

อะแซหวุ่นกี้ ขอดูตัว พระยาจักรี

ในเวลานั้นเมื่ออะแซหวุ่นกี้ตั้งล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่ก่อน กองทัพกรุงธนบุรีขึ้นไปถึงนั้น จำนวนพลฝ่ายสยามตั้งรักษาเมืองพิษณุโลกจะมากน้อยเท่าใดไม่ปรากฎในหนังสือพระราชพงษาวดาร ความปรากฎว่าเวลาเมื่อพม่าตั้งค่ายล้อมเมืองนั้น อะแซหวุ่นกี้ยกพลเลียบค่ายไปเที่ยวตรวจชัยภูมิทุก ๆ วัน เจ้าพระยาสุรสีห์คุมพลออกโจมตี สู้พม่าไม่ได้ต้องถอยมา เจ้าพระยาจักรีคุมพลออกรบเอง ตีพม่าต้องถอยหนีเข้าค่ายไปหลายครั้ง อะแซหวุ่นกี้ยกย่องฝีมือเจ้าพระยาจักรี ถึงให้มาบอกว่าจะขอพบปะให้รู้จักกัน ครั้นเวลาวันหนึ่งจึงนัดหยุดรบ อะแซหวุ่นกี้กับเจ้าพระยาจักรีออกไปพบกันที่ในสนามยืนม้าเจรจากัน ความที่เจรจากล่าวไว้ในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า อะแซหวุ่นกี้ให้ล่ามถามเจ้าพระยาจักรีว่าอายุเท่าใด เจ้าพระยาจักรีให้บอกไปว่าอายุได้ 30 เศษ...