ปฏิบัติการดับแค้น “ยามาโมโตะ”

ในปี 1942 การรบที่มิดเวย์ (Battle of Midway) ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสงครามในสมรภูมิโตเกียวแปซิฟิก ถึงแม้ญี่ปุ่นยังคงเป็นศัตรูที่แข็งแกร่ง มุ่งมั่น และหัวรุนแรงอยู่ก็ตาม
พลเรือเอกอิโซโระคุ ยามาโมโตะ (Isoroku Yamamoto) คือคนที่วางแผนการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เขาเป็นผู้นำที่มีการศึกษาสูงและได้รับความเคารพอย่างมาก เคยใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกามาระยะหนึ่ง ซึ่งทำให้เขารู้จักวัฒนธรรมตะวันตกและเข้าใจศักยภาพของกองทัพสหรัฐฯ เป็นอย่างดี แม้ว่าเขาจะเก่งและเฉียบแหลมแค่ไหน แต่จริง ๆ แล้ว ยามาโมโตะไม่ได้เห็นด้วยกับการทำสงครามกับอเมริกา เขาเคยแสดงความกังวลว่า ญี่ปุ่นกำลังเดินผิดทาง และไม่มั่นใจว่าจะชนะสงครามได้ แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังทำหน้าที่เพื่อประเทศของเขาอย่างเต็มที่
วันที่ 14 เมษายน ปี 1943 ฝ่ายถอดรหัสของสหรัฐฯ ดักจับข้อความลับที่เปิดเผยแผนการเดินทางตรวจพื้นที่ของยามาโมโตะในหมู่เกาะโซโลมอน ข้อมูลนี้กลายเป็นพื้นฐานของแผนลอบสังหาร ซึ่งได้รับการอนุมัติจากประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) และถูกจัดให้อยู่ในระดับ “ลับสุดยอด” พร้อมคำสั่งเร่งด่วน แต่การปฏิบัติจริงมันไม่ง่ายเหมือนแค่วางแผน
เครื่องบินที่เลือกใช้คือ P-38 Lightning เพราะบินได้ระยะไกล หน่วยบินทั้งหมดมี 18 ลำ และได้รับคำสั่งชัดเจนให้มุ่งเป้าหาเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกลุ่มเป้าหมาย วางแผนสกัดเครื่องบินของยามาโมโตะก่อนที่เขาจะถึงสนามบินบาราเล (Balalae Airfield)

เช้าวันที่ 18 เมษายน มีเครื่องบินขึ้นบินได้เพียง 16 ลำ เนื่องจากบางลำมีปัญหาทางเทคนิค ฝูงบินต้องบินในระดับต่ำเพื่อล่องหนจากเรดาร์ และต้องบินไกลถึง 400 ไมล์ ความสำเร็จของภารกิจนี้ขึ้นอยู่กับว่าตารางบินของยามาโมโตะต้องไม่เปลี่ยนแปลงเลย
เวลาประมาณ 09:34 ฝ่ายอเมริกันเริ่มเข้าปะทะในอากาศ (dogfight) และเจอเครื่องบินของยามาโมโตะ ร้อยโทเร็กซ์ ที. บาร์เบอร์ (Rex T. Barber) ยิงเครื่องบินบอมเบอร์ที่ยามาโมโตะนั่งอยู่จนตก และเครื่องอีกลำที่บรรทุกพลเรือเอกมะโตเมะ อูกากิ (Matome Ugaki) ก็ถูกยิงตกเช่นกัน แต่โชคดีที่อูกากิรอดชีวิต นักบินอเมริกันอ้างว่าพวกเขายิงเครื่องบินขับไล่ศัตรูตกหลายลำ แต่เอกสารจากฝั่งญี่ปุ่นกลับไม่ตรงกันเลย โดยรวม ฝั่งสหรัฐฯ เสียเครื่องบินไปแค่หนึ่งลำเท่านั้น
วันถัดมา พบร่างของยามาโมโตะ ถูกยิงเข้าร่างกายสองนัดและเสียชีวิตก่อนที่เครื่องจะตก ศพของเขาถูกนำกลับญี่ปุ่นด้วยเรือรบ หลังจากนั้นผู้บัญชาการกองเรือรวมของญี่ปุ่นที่ขึ้นมารับตำแหน่งต่อก็ลำบากมากในการควบคุมและบริหาร ส่วนประชาชนญี่ปุ่นเองกว่าจะรู้ข่าวการเสียชีวิตของยามาโมโตะก็เป็นเวลาเกือบเดือนหลังจากเหตุการณ์นั้นแล้ว ตรงกันข้าม ฝั่งอเมริกันมองว่าภารกิจนี้คือความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เป็นเหมือนกำลังใจสำคัญในช่วงสงคราม เพราะพวกเขาเพิ่งจัดการศัตรูคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งได้สำเร็จ